จากการที่รายการดอกรักบานแฉ่งได้จัดกิจกรรมนอกจอคือการประกวดภาพถ่ายหัวข้อ “เรื่องเพศ 24 ชั่วโมง” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารเรื่องเพศในวงกว้างและการมีส่วนร่วมของผู้ชมรายการ โดยมีรางวัลคือ
โดยได้เปิดรับภาพที่ส่งเข้าประกวดตั้งแต่ 1 พ.ค. – 30 มิ.ย.นั้น มีผู้ส่งภาพเข้าประกวดทั้งสิ้น 31 ชุด และได้มีการตัดสินโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพและการทำงานเรื่องเพศ 5 ท่าน ได้แก่
1.คุณสุริยนต์ จองลีพันธ์ บ.ป่าใหญ่ครีเอชั่น
2.คุณอุษาสินี ริ้วทอง องค์การแพธ
3.คุณอริสา แดงเอียด สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
4.คุณวีรุทัย อยู่เหลือสุข โครงการเพศศึกษาเพื่อเยาวชน
5.คุณแสงศิริ ตรีมรรคา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
ผลการตัดสิน ปรากฏว่าไม่มีภาพใดได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เนื่องจากไม่มีภาพใดสามารถสื่อสารประเด็นเรื่องเพศ 24 ชั่วโมงได้อย่างชัดเจน คณะกรรมการจึงได้อภิปรายและมีมติให้รางวัลภาพถ่ายดังนี้
รางวัลภาพถ่ายดีเด่น 2 รางวัลๆ ละ 20,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร ผู้ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
1.นาย ชนกานต์ นิพพิทา จ.ชุมพร
2.นาย หรรษา ตั้งมั่นภูวดล จ.กรุงเทพฯ
รางวัลชมเชย 1 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัล ได้แก่
- นายอภิเดช จันทรภูมิ จ.กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ จะมีการมอบรางวัลในวันที่ 5 สิงหาคม 2554 พร้อมกับเวทีเสวนา “เรื่องเพศ 24 ชั่วโมง : เรื่องเล่าจากภาพถ่าย”ในงานเวทีวิชาการเพศศึกษาเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 5“ก้าวที่เก้า…..ก้าวที่กล้า: เพศวิถีศึกษา เพื่อสร้างสังคมแห่งวุฒิภาวะ” วันที่ 3-5สิงหาคม 2554ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯโดยในงานจะมีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย “เรื่องเพศ 24 ชั่วโมง” ของภาพที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดอีกด้วย
หมายเหตุ
คณะกรรมการมีความเห็นต่อภาพที่เข้าประกวด ดังนี้
ภาพรวม
ภาพที่ส่งเข้าประกวดเกือบทั้งหมดยังสื่อสารเรื่องเพศในมุมมองของกระแสหลัก คือ มองว่าเรื่องเพศคือเพศสัมพันธ์ โป๊เปลือย โดยบางภาพมีการตีตรา หรือตอกย้ำคุณค่าบางอย่างซึ่งเป็นการเหมารวม เช่น เยาวชนใจแตกท้องในวัยเรียน หรือการแสดงออกของเพศอื่นๆ เช่น เกย์ กะเทย ว่ามีแบบเดียวคือวี้ดว้าย แต่งตัวสีสันจัดจ้าน บางภาพเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นในลักษณะแอบถ่าย เป็นต้น
ภาพที่ได้รางวัล
สำหรับภาพที่ได้รับรางวัลดีเด่นทั้ง 2 ภาพ คณะกรรมการเห็นว่าเป็นการนำเสนอเรื่องเพศในแง่มุมของการเรียนรู้ กล่าวคือ เรื่องเพศเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ควรสอนให้เด็กได้เข้าใจเพื่อที่จะให้เด็กหรือเยาวชนได้มีภูมิต้านกับเรื่องเพศที่อยู่ในสื่อต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายแต่อาจจะให้ข้อมูลหรือทัศนะเรื่องเพศที่ไม่รอบด้านกับเด็ก ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้ชมภาพดังกล่าวสามารถคิดต่อและอาจจะเริ่มพูดคุยเรื่องเพศกับลูก ส่วนภาพที่ได้รับรางวัลชมเชยกรรมการเห็นว่าสามารถสื่อสารเรื่องเพศกับความเชื่อของคนในสังคมได้ดีซึ่งหากนำเสนอในมุมเรื่องเพศกับพื้นที่การแสดงออกของผู้หญิงด้วยก็จะทำให้การเล่าเรื่องของภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายเรื่องเพศ 24 ชั่วโมงและร่วมฟังเสวนา ความเห็นของคณะกรรมการ ความเห็นความรู้สึกของผู้ที่ได้รับรางวับได้ตามรายละเอียดข้างต้น