ทำไมโรงเรียนจึงต้องจัดการศึกษาเพื่อวางรากฐานสำหรับคนในอนาคต
ทำไมหลักสูตรจึงปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้กว้างและมากไปกว่าการเน้นเฉพาะเนื้อหาในรายวิชาที่เป็นแกนหลัก
ทำไมครูผู้สอนจึงต้องปรับทัศนคติ เพื่อจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตมากกว่ามุ่งเน้นวิชาการ
หนังสือ“ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21” แปลเป็นภาษาไทย โดยวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว โดยผ่านมุมมองของนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่ง
การปฏิรูปการศึกษาที่แท้ควรปฏิรูปกระบวนทัศน์ด้วยภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ “กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้” และ“ครูมิใช่ผู้มอบความรู้” แต่เป็น“ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชน”
เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไปเพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาลเกินกว่าที่จะมอบให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้อีกทั้งนักเรียนในศตวรรษใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกหนแห่งทั้งในสิ่งแวดล้อมและอินเทอร์เน็ต
หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับกระบวนทัศน์เดิมคือมอบความรู้เป็นรายวิชาก็จะไม่ทันสถานการณ์โลกที่ควรทำคือมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตเด็กและเยาวชนจะเรียนรู้อะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคนแต่ที่ทุกคนควรมีคือความสามารถในการเรียนรู้ตลอดเวลาตลอดชีวิตและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
นพ.ประเสริฐผลิตผลการพิมพ์
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์