Toggle navigation
หน้าแรก
ดาวน์โหลด
ฟรีดาวน์โหลดหนังสือและหลักสูตร
หนังสือสุขศึกษาประถมศึกษา
หนังสือสุขศึกษามัธยมศึกษา
หลักสูตรเพศวิถีศึกษา
หนังสือของโครงการ
โปสเตอร์และ Infographic
คลิปวิดีโอการสอน
หนังสั้น เพศศึกษา
เกมเพศศึกษา
Sex change
สื่อสังวาส
ข่าว/บทความ
สาระชวนรู้ เพศศึกษารอบด้าน
ข่าวเรื่องเพศศึกษา
ข่าวประชาสัมพันธ์
คุยเรื่องเพศกับพระชาย
ข้ามเส้น คิดนอกกรอบ
บทความเยาวชน
บทกวีเขาเราเอามาเขียน
ธรรมใจไดอารี่
เกมเพศศึกษา
วาไรตี้
ทีนแพธวาไรตี้
หนังน่าดู เพลงความหมายดี
แนะนำหนังสือ
เกมทายใจ
เคล็ดลับเพื่อสุขภาพ
ดูดวงฟรี
คู่มือวัยรุ่น
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
เพศวิถีศึกษา เพศศึกษารอบด้าน
ข่าวโครงการ
ฅ.ฅนก้าวย่าง
รู้จักสถานศึกษา
คลังข้อมูลวิชาการ
ครูเพศศึกษาหัวใจไอที
ฐานข้อมูลเพศศึกษา
เว็บบอร์ด
ถามตอบสุขภาพ วัยรุ่น
ฝากคำถามใหม่
ปรึกษาวัยรุ่น ลูกที่ปรึกษา
สอนรักสลักใจ
คลังคำถามเรื่องเพศ
รู้จักสถานศึกษา
:
แห่งหนึ่ง... ในก้าวย่าง
กศน. วารินชำราบ
Share
มุมมองผู้บริหาร
มุมมองผู้บริหาร
ครูเพศศึกษา
ครูเพศศึกษา
เสียงจากผู้เรียน
เสียงจากผู้เรียน
ฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
ู้“...กศน. วารินชำราบมีครูผู้สอนที่เป็นทหารสอนเหล่าทหารเกณฑ์ในค่าย ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ กศน. วารินชำราบ เข้าร่วมในการอบรมเป็น ‘ครูเพศ’ ด้วย ซึ่งถือว่าเป็น กศน. แห่งแรกของโครงการฯ ที่ได้ขยายการสอนเพศศึกษาไปยังกลุ่มทหารเกณฑ์”
กศน. วารินชำราบ
พร้อมขึ้นขั้นโปรโมเตอร์และนักมวยในเรื่องเพศศึกษา
แม้ภารกิจของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวารินชำราบ (กศน. วารินชำราบ) ซึ่งรับผิดชอบศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ๑๖ แห่งในอำเภอวารินชำราบ จะไม่ต่างจากภารกิจของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในอำเภออื่นๆ ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกับโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ คือ ส่งครูเข้าอบรมในโครงการฯ เพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการสอนเพศศึกษาแบบรอบด้านที่มีหัวใจคือ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน โดยมีครูทำหน้าที่จัดการเรียนรู้” และจัดการสอนเพศศึกษาไว้ในวิชาพัฒนาทักษะชีวิต ๑
แต่ด้วยรูปแบบ “การศึกษาตามอัธยาศัย” ที่มีความต่างจากการสอนในห้องเรียนหลายอย่าง แม้จะมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับระบบโรงเรียน ทว่าก็มีความยืดหยุ่นแก่ผู้เรียนมากกว่าทั้งในเรื่องจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นที่คละวัยตั้งแต่ ๑๖ จนถึง ๕๙ ปี และชั่วโมงเรียน รวมทั้งการพบกลุ่ม
ธฤติ ประสานสอน
ผู้อำนวยการศูนย์บริการ กศน. วารินชำราบ
ห้องเรียนของ กศน. ที่จัดตามศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในตำบล อำเภอต่างๆ จึงมักเกิดขึ้นในวันหยุด เช่น วันอาทิตย์ สำหรับการพบหน้า เรียนรู้วิชาต่างๆ ตามที่นักเรียนลงทะเบียนเรียน
ทั้งหมดที่กล่าวมาเกิดขึ้นกับชั้นเรียนเพศศึกษาของ กศน. วารินชำราบ และกลายเป็นความท้าทายที่สร้างการเรียนรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสอนนับตั้งแต่ ผู้อำนวยการศูนย์ จนถึงครูผู้สอนที่มีทั้งครูซึ่งเป็นครูโดยอาชีพ และครูที่สวมเครื่องแบบทหาร
กศน. วารินชำราบ แปรเปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นความรู้ ซึ่งนำมาสู่การเป็นสถานศึกษาแห่งหนึ่งในโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่หยั่งรากยั่งยืนในเรื่องการสอนเพศศึกษารอบด้านตามหลักสูตรของโครงการฯ แม้จะไม่ได้เปิดวิชาทักษะชีวิตโดยตรง แต่ก็นำแผนการเรียนจากก้าวย่างฯ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาหลักๆ ที่นักเรียนลงเรียน ทำให้การพบกลุ่มในแต่ละครั้ง ซึ่งใช้เวลา ๓ ชั่วโมง นอกจากจะได้เรียนวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ สังคม หรือวิทยาศาสตร์เป็นเวลา ๑ ชั่วโมงแล้ว นักเรียนทุกคนยังได้เรียนเพศศึกษาอีก ๑ ชั่วโมง และชั่วโมงที่เหลือเป็นการติดตามงาน รวมทั้งการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล
ธฤติ ประสานสอน
ผอ. ศูนย์ฯ
“เนื่องจาก กศน. แห่งนี้ไม่ได้เปิดวิชาทักษะชีวิตในเทอมที่ผ่านมา เราจึงใช้สอนควบไปกับวิชาหลักอื่นๆ ซึ่งแต่ก่อน เราก็มีการสอดแทรกเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่มันไม่มีกระบวนการที่ชัดเจน พอได้แผนการเรียนของก้าวย่างฯ มา เราก็เลยมีรูปแบบกระบวนการชัดเจนขึ้น
“ความจริง ทักษะชีวิต ถือเป็นวิชาที่ใกล้ตัวเรามาก แต่ที่ผ่านมา เรายังเข้าไม่ถึงมันอย่างชัดๆ เราไม่รู้วิธีสื่อสารกันในครอบครัว ไม่มีทักษะที่จะตอบ ที่จะให้ความรู้แก่ลูกเมื่อคุยเรื่องเพศ การสอนทักษะชีวิตของเราจึงไม่เกิดมรรคผล เพราะเราไม่ได้สอนอย่างเป็นกระบวนการ แต่เมื่อครูเราได้กระบวนจากก้าวย่างฯ เขาก็เข้าใจ เห็นวิธีการที่จะถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นเรื่อง ‘น่าอาย’ ออกไปสู่ผู้อื่นได้อย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการเข้าใจ
“เราพบว่าครูบางส่วนมีทักษะอยู่แล้ว แต่เป็นแบบ ‘มวยวัด ครูพักลักจำ’ แต่พอมาได้รับการอบรม ก็เริ่มมีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมกันได้ในการสอนวิชาอื่นๆ ด้วย” ธฤติ ประสานสอน ผู้อำนวยการศูนย์บริการ กศน. วารินชำราบ บอกถึงสิ่งที่เห็นชัดจากการทำหน้าที่ผู้บริหาร และติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้สอนที่ผ่านการอบรมเป็น “ครูเพศ” จากโครงการฯ
และด้วยเห็นถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตทางเพศของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ใหญ่ในสังคมยุคใหม่ที่มีสื่อช่วยกระตุ้นเร้าความรู้สึกและเข้าถึงได้อย่างง่ายดายในทุกวัย ในฐานะผู้บริหารที่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างถูกหลัก กศน. วารินชำราบจึงมีครูผู้สอนที่เป็นทหารสอนเหล่าทหารเกณฑ์ในค่าย ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ กศน. วารินชำราบ เข้าร่วมในการอบรมเป็น ‘ครูเพศ’ ด้วย ซึ่งถือว่าเป็น กศน. แห่งแรกของโครงการฯ ที่ได้ขยายการสอนเพศศึกษาไปยังกลุ่มทหารเกณฑ์
“เพราะทหารไม่มีวิชาทักษะชีวิต ๑ เนื่องจากการเป็นทหารถือเป็นการได้พัฒนาทักษะชีวิตอยู่แล้ว สองปีที่ใช้ชีวิตทหาร ก็ได้ทักษะชีวิตรอบด้านไปแล้ว เราจึงเทียบโอนให้ในวิชานี้ แต่ในความเป็นจริง ทหารเหล่านี้ที่เข้ามาใช้ชีวิตในค่ายกลับไม่มีความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้อง ผมก็เลยปรึกษาร่วมกับโครงการฯ ว่า น่าจะให้ทหารได้รับความรู้เรื่องนี้ จึงนำมาใส่ไว้เป็นวิชาพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้ครูทหารที่รับผิดชอบในการสอน เข้าร่วมรับการอบรมเพื่อนำไปสอนทหารในหน่วยที่แต่ละคนรับผิดชอบ”
ห้องเรียนเพศศึกษาในค่ายทหาร
นอกจากกระบวนการจะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การสอนเพศศึกษา ‘ง่าย’ ขึ้นสำหรับครูผู้สอนแล้ว ธฤติมองว่าระบบการบริหารงานของ กศน. เอื้อต่อการที่จะทำให้เพศศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องสอน เพราะภารกิจของ กศน. คือ การเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนให้สามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตจริง และด้วยบุคลากรที่มีอยู่ทุกพื้นที่ ทุกตำบล ย่อมเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ชุมชนได้สะดวก
“เรื่องการจัดการนั้น ความจริงไม่ใช่เรื่องยากเท่ากับการมีนโยบาย เพราะวิถีชีวิตของเรา ทำเรื่องพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่แล้ว เรามีบุคลากรอยู่ทุกพื้นที่ ทุกตำบล มีนักศึกษาที่มาจากในระบบ และนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมในโครงการสั้นๆ งบประมาณของเราเอง ก็มีความยืดหยุ่น เพราะเรื่องเพศศึกษาอยู่ในหมวดพัฒนาทักษะชีวิต ความยั่งยืนจึงอยู่ที่การทำให้เห็นเป็นระบบนั่นเอง จากเดิมที่เราเป็นแค่ ‘โปรโมเตอร์’ ถ้าอยากให้นักเรียนรู้เรื่องเอดส์ ก็ไปหาวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้ แต่ตอนนี้ เราเป็นทั้งโปรโมเตอร์ และ ‘นักมวย’ ด้วย เพราะเราขึ้นชกเองได้ พูดเรื่องเพศได้เลย
“ตอนนี้ เหลือแค่ระดับผู้บริหารนโยบายเท่านั้นที่ต้องทำให้เห็นความสำคัญของการสอนเรื่องนี้ เพราะตัวจักรที่รับนโยบายมาขับเคลื่อนก็คือ กลุ่มคนระดับพวกผมนั่นเอง”
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
ู้“ตัวผมเองก็เปลี่ยนความคิดไปในเรื่องการให้ความสำคัญกับขนาดอวัยวะเพศ ซึ่งแต่ก่อน ผมก็เชื่อเหมือนที่หลายคนเชื่อว่า ‘ต้องใหญ่’ แต่พอมาเรียนรู้ถึงสรีระของผู้หญิง ทำให้เข้าใจว่า การพูดคุยกัน ความเข้าใจในกันและกันต่างหากที่ทำให้มีความสุขทางเพศ”
จ่าสิบตรี ชุติพนธ์ ดาราสว่าง
ครูสอนวิชาพัฒนาทักษะชีวิต ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ
ที่ผ่านมา เราก็สอนวิชาหลักๆ เช่น สอนภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และคณิตศาสตร์ ส่วนเพศศึกษานี่เป็นการสอนครั้งแรกในค่ายทหารนี้ ผมถือว่าเป็นภารกิจในการทำให้ทหารเราไปใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง นักเรียนทหารของผมก็มาสะท้อนว่า ถ้าได้ความรู้แบบผม ก็ปลอดภัยขึ้น ก็ไม่รู้สึกลำบากใจอะไร เพราะอายุเราก็มาก มีประสบการณ์ชีวิตมาบ้างแล้ว สอนทหาร ก็มีแต่ผู้ชายด้วยกัน เลยไม่ยากอะไร
ตัวผมเองก็เปลี่ยนความคิดไปในเรื่องการให้ความสำคัญกับขนาดอวัยวะเพศ ซึ่งแต่ก่อน ผมก็เชื่อเหมือนที่หลายคนเชื่อว่า ‘ต้องใหญ่’ แต่พอมาเรียนรู้ถึงสรีระของผู้หญิง ทำให้เข้าใจว่า การพูดคุยกัน ความเข้าใจในกันและกันต่างหากที่ทำให้มีความสุขทางเพศ
ครูจ่ากับนักเรียนทหาร
ในวิชาทักษะชีวิต
นิรันดร คุลธิ
ครู กศน. ประจำตำบลโนนโหนด อำเภอวารินชำราบ
สอนวิชาพัฒนาทักษะชีวิตมาหลายเทอมแล้ว แต่เพิ่งได้สอนเรื่องเพศศึกษา เพราะไปอบรมมาเมื่อปี ๒๕๕๐ ตอนนี้รับผิดชอบสอนทั้ง ม. ต้น และม. ปลาย
ผมมีนักเรียนที่ลงเรียน ๒ กลุ่ม กลุ่มละ ๒๐ กับ ๓๐ คน เฉลี่ยแล้วอายุประมาณ ๓๐ ปี ตอนไปอบรม ด้วยความเป็นครู เราก็ให้ความร่วมมือกับวิทยากรในห้องอบรมอย่างดี แต่พอมาสอนนักเรียน ความยากก็คือปฏิกิริยาที่ตอบสนอง หรือ การมีส่วนร่วมกับเรา พอเราใช้กระบวนการตามที่ได้รับมาคือ การสร้างความไว้ใจ ซึ่งมันยากตรงนี้ เพราะถ้าพูดถึงความคุ้นเคย เรากับนักเรียนก็คุ้นกันอยู่แล้ว แต่พอพูดเรื่องเพศศึกษา เด็กวัยรุ่นจะไม่ค่อยกล้าเปิดเผยเท่าคนที่มีประสบการณ์ เราก็เลยใช้วิธีคละคนที่อายุต่างกันมารวมในแต่ละกลุ่ม ก็ได้ผลอยู่บ้างนะสำหรับวิธีนี้ เพราะพอทำไปได้สองสามกิจกรรม เริ่มคุ้นเคยกัน เราจะกระตุ้นให้วัยรุ่นแสดงความเห็นมากขึ้น โดยให้เด็กแสดงความเห็นก่อนผู้ใหญ่ แล้วค่อยมาสรุปร่วมกัน
การแลกเปลี่ยนแบบนี้ ทำให้เขาได้ยินประสบการณ์ตรงของคนอื่นๆ ซึ่งมันย่อมดีกว่าฟังจากเราคนเดียว ผมคิดว่าเทคนิคการสอนหนังสือในห้องเรียนแบบ กศน. คือ เราต้องทำให้เป็นเรื่องที่เขารู้สึกว่าเขาเอาไปใช้ได้จริงในชีวิตเขา ไม่ใช่เรื่องหลักวิชาการ เพราะเวลาสอนแบบนั้น นักเรียนเราก็จะเบื่อ
มาตอนนี้ ก็ได้ผลน่าพอใจ เพราะการแลกเปลี่ยนทำให้เราเห็นชัดว่า มีหลายเรื่องที่นักเรียนเราแม้จะอายุมากแล้ว ก็ยังมีความเข้าใจผิด เช่น เรื่องคุมกำเนิดโดยใช้การนับวันหน้า ๗ หลัง ๗ เป็นต้น
หลังจากเราสอนไปหลายครั้ง ก็พบว่าเขามีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเอดส์มากขึ้น และก็ไม่ได้มองว่าเอดส์เป็นเรื่องไกลตัวเหมือนเมื่อก่อน
ส่วนความคาดหวังของเราต่อนักเรียน คือ อยากให้เขามีพฤติกรรมป้องกันตัวเองเวลามีเพศสัมพันธ์ และเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว เพราะผมมองว่า ครอบครัวคือตัวสำคัญที่จะให้คำแนะนำ คำปรึกษาได้ เราก็คาดหวังกับนักเรียนที่มาเรียนกับเราโดยเฉพาะคนที่เป็นผู้ใหญ่ว่า เขาจะกลับไปถ่ายทอดเรื่องที่เขารู้จากเราให้กับครอบครัวเขาด้วย
เนื่องจากเทอมนี้ เราสอนเพศศึกษา ก็เลยบังคับเด็กให้ทำโครงงาน เพราะที่ผ่านมา นักเรียนมักเลือกทำแต่เรื่องการออกกำลังกาย หรือประเภทของกีฬา ผมก็เลยให้หัวข้อว่าต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเพศศึกษา อาจจะทำเป็นแผ่นพับ หรือโปสเตอร์มาก็ได้ โดยถือเป็นงานกลุ่ม
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
พลทหารนพรัตน์ สีทองทุม
นักเรียนทหารที่เรียนเพศศึกษา
ตอนแรกๆ ที่ครูบอกว่าจะสอนเพศศึกษา ก็เข้าใจว่าครูเขาคงสอนเรื่องวิธีการมีเพศสัมพันธ์ แต่มาตอนนี้ ก็รู้ว่าครูสอนมากกว่านั้น มีทั้งเรื่องการป้องกัน และการอยู่ร่วมกับคนที่มีเชื้อเอชไอวี ซึ่งตอนนี้ ผมกล้านั่งคุยกับเขาแล้วถ้ารู้ว่าเขามีเชื้อ แต่ก่อนผมกลัว ไม่กล้า ก่อนจะมาเรียน ผมไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลย แล้วก็มีความเข้าใจผิดๆ ด้วยซ้ำ เช่น เรื่องการติดต่อ เช่น กลัวถูกมีดโกนบาด แต่มาเดี๋ยวนี้ ก็รู้แล้วว่าติดเอดส์ได้ทางไหน แล้วก็ทำให้เห็นความเสี่ยงของตัวเอง เพราะเคยไม่ใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ คิดว่าสิ่งที่จะนำไปใช้ได้จริงๆ จากห้องเรียนก็คงเป็นเรื่องการตรวจเลือด กับการใช้ถุงยางกับคู่
ร่วมแสดงความคิดเห็น
จาก*
อีเมล
ความคิดเห็น*