ผลงานครูสุเทพ กรุงพิทักษ์
โรงเรียนรัตนบุรี
อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
Home คลิปวีดีโอ & หนังสั้น ตัวอย่างสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษา ต้นกับอ้อ : โรงเรียนรัตนบุรี
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ชุดกิจกรรม การไม่รังแกกัน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
สำหรับคนส่วนใหญ่ การรังแกกันอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือมีความสำคัญมาก บางคนอาจถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กด้วยซ้ำไป แต่หากพิจารณาให้ละเอียด จะเห็นว่าการรังแกกันของเด็กเป็นเรื่องร้ายแรง มีผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้นเด็กที่ถูกรังแกจะเกิดความวิตกกังวล หวาดกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจและความสามารถในการเรียนรู้ เพราะเมื่อจิตใจไม่สงบ รู้สึกไม่ปลอดภัย ก็จะทำใไม่มีสมาธิในการเรียน ส่วนเด็กที่เป็นผู้รังแก หากไม่มีใครห้ามปรามหรือขัดขวางก็จะเกิดความย่ามใจ...
รู้จัก..น้องจิ๋ม
"น้องจิ๋ม" หรือระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภายนอกและส่วนภายใน สำหรับส่วนภายนอกที่เรียกว่า อวัยวะเพศ ประกอบด้วย
เนินอวัยวะเพศ เป็นส่วนผิวหน้ามีลักษณะเป็นเนื้อนูนเรียกว่า เนินเนื้อหัวเหน่า บริเวณนี้ประกอบด้วยผิวหนังนูนเป็นเนินชั้นไขมัน เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีขนเจริญงอกออกมาปกคลุมเนินนูนไว้ เพื่อช่วยลดแรงกระแทกและการเสียดสีขณะมีเพศสัมพันธ์
แคมนอก จะปิดปุ่มคลิตอริสไว้ และจะยาวไปถึงด้านหลังก่อนถึงทวารหนัก...
ส่องกล้องมองจู๋..ดูกันให้ชัดๆ
ส่วนประกอบของอวัยวะเพศชาย
องคชาตหรือลึงค์ เป็นอวัยวะเพศที่ยื่นยาวออกมาจากส่วนของร่างกาย ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของถุงอัณฑะ ภายนอกปกคลุมด้วยผิวหนัง ภายในเป็นกล้ามเนื้อซึ่งมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ซึ่งจะมีท่อปัสสาวะอยู่โดยตลอดและมีช่องเล็กๆ เปิดอยู่ที่ตอนปลาย ท่อนี้จะเป็นทางผ่านของทั้งปัสสาวะและน้ำอสุจิ ส่วนขององคชาตินี้สามารถยืด หดและขยายตัวตั้งขึ้นได้เอง และจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามการเจริญเติบโตของร่างกาย นอกจากนี้เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีขนงอกออกมาปกคลุมบริเวณรอบโคนขององคชาติ ขนนี้จะช่วยลดการกระแทกและการเสียดสีในขณะที่มีเพศสัมพันธ์
ส่วนหัวขององคชาต โดยเฉพาะตอนปลาย จะเป็นส่วนที่ค่อนข้างไวต่อความรู้สึกมากกว่าส่วนของหนังหุ้มปลาย เนื่องจากมีเส้นประสาทและเส้นโลหิตมาหล่อเลี้ยงอยู่เป็นจำนวนมาก...
สาระสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ปรับปรุงใหม่)
การมีสุขภาพที่ดี และมีสุขภาวะเป็นภาวะที่สมบูรณ์ในทุกด้านทั้งกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมสติปัญญาหรือจิตวิญญาณ ไม่ใช่เพียงการไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเพียงเท่านั้น การสร้างเสริมสุขภาวะจึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบตนเองของทุกคน สุขศึกษาเป็นรายวิชาที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงแนวคิด หลักการและวิธีการที่จำเป็นเบื้องต้นในการสร้างเสริม ดูแล และป้องกันโรคและอันตรายต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทุกรูปแบบ ที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในการดำรงชีวิตประจำวันของตัวเรา
นอกจากเนื้อหาความรู้ที่จำเป็น ทั้งหลักปฏิบัติเบื้องต้นด้านพฤติกรรมสุขภาพ...