10 เคล็ดลับของการเป็นทีมวิทยากรร่วม 10 TIPS-FOR-CO-FACILITATING BY JEANETTE ROMKEMA  [6 พฤศจิกายน 2555] 

777
 โดย: HTTP://GLOBALLEARNINGPARTNERS.COM/BLOG/10-TIPS-FOR-CO-FACILITATING    

      สำหรับ MT หรือวิทยากรหลักการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน เชื่อว่าหลายคนต่างเคยแตะสลับ หรือเปลี่ยนมือกันเป็น F1 F2 และ F3 กันมาบ้างแล้ว เรามาเรียนรู้เทคนิคการเตรียมตัวเพื่อเป็นทีมที่เข้าขากัน ดังนี้

  • เช็คความพร้อมกันล่วงหน้าเพื่อวางแผนและตกลงร่วมกันว่าใครจะรับผิดชอบอะไร มีบทบาทอย่างไร ทำอะไร ในแต่ละช่วงเวลา
  • บอกความคาดหวังกับเพื่อนร่วมทีมว่าเราคาดหวังอย่างไร เพื่อให้งานบรรลุจุดมุ่งหมาย และเป็นการทำความเข้าใจร่วมกันกันระหว่างทีมงาน
  • เช็คกันเป็นระยะสั้นๆ ไม่ต้องยืดยาว เพื่อให้กิจกรรมไหลลื่น และไม่รบกวนกระบวนการหรือการทำกิจกรรมของผู้เข้าร่วม เช่น หากต้องการจบกิจกรรมก่อนเวลา หรือต้องการอุปกรณ์ที่จะต้องใช้
  • ทบทวนหรือตรวจสอบก่อนและหลังการจัดอบรมก่อนลงมือจัดกิจกรรมควรทบทวน หรือแจ้งให้ทีมทราบถึงการเปลี่ยนแปลง หากมีการแก้ไขบางอย่างหลังจากที่ีมได้วางแผนร่วมกันครั้งสุดท้าย หลังการจัดอบรมควรแบ่งปันกันว่า การจัดกิจกรรมเป็นอย่างไร และครั้งต่อไปต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง อย่าลืมว่าการสรุปกันของทีมหลังการจัดกิจกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
  • ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระงานการเป็นทีมวิทยากรต้องเอาใจใส่ และสนใจสิ่่งที่ผู้นำกระบวนการทำในระหว่างการจัดกิจกรรม และช่วยแจกเอกสาร ติดฟลิ๊ปชาร์ท การลงช่วยเหลือกลุ่มย่อยเมื่อเกิดความสับสน เป็นต้น เพื่อให้กระบวนการดำเนินไปอย่างราบรื่น
  • ไม่ขัดแย้งหรือสอดแทรกในขณะที่่ผู้นำกระบวนการกำลังจัดกิจกรรม ยกเว้นว่าจะเป็นประเด็นที่เป็นจุดสร้างการเรียนรู้จริงๆ
  • กำหนดเป้าหมายร่วมกันภายในทีมหรือเป็นสิ่งที่ตัวคุณตั้้งเป้าไว้ และบอกแก่เพื่อนร่วมทีม แล้วมีการสะท้อนหรือแลกเปลี่ยนกันหลังการจัดกิจกรรมแล้ว
  • การรักษาเวลาให้ตรงเวลาและดำเนินกิจกรรมภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตั้องแต่ต้นเพื่อไม่ให้กระทบกับกิจกรรมในช่วงต่อไป
  • หนุนเสริมกำลังใจเพื่อนร่วมทีมเพื่อคลายความกังวล และบอกสิ่งที่เพื่อนในทีมทำได้ดี
  • ทำงานเป็นทีมแสดงให้ผู้เข้าร่วมเห็นว่าทีมทำงานร่วมกัน

 ….ในฐานะที่เป็น MT กันมา เราจะเพิ่มเติมเทคนิคอะไรอีกบ้างเอ่ย..

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here