คู่มือสำหรับกระบวนกรเพื่อจัดกิจกรรม เปิดห้องเรียนพ่อแม่คุยกับลูกยุคนี้

613

มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (path2health foundation-P2H) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณประโยชน์ ที่จดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อ 2 พฤษภาคม 2556 ก่อนหน้านี้ดำเนินงานในนามองค์การแพธ (ประเทศไทย) มาตั้งแต่ปี 2528 โดยได้ร่วมมือกับภาครัฐอาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา มหาวิทยาลัย ฯลฯ องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนภาคธุรกิจ และองค์กรชุมชนพัฒนาความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ เผยแพร่ขยายผลบทเรียนและสนับสนุนวิชาการเพื่อคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มต่างๆ จากต้นทุนของมูลนิธิฯ ที่มุ่ง “สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสังคมแห่งสุขภาวะ” ด้านหนึ่งคือการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองพูดคุยเชิงบวกและมีทักษะสื่อสารเรื่องเพศกับลูกหลานที่เป็นเด็กและวัยรุ่นในบ้าน โดยได้ออกแบบบนฐานวิชาการทั้งเรื่องกระบวนการเรียนรู้ สาธารณสุข และ

จิตวิทยา เพื่อใช้กับชาวชุมชน ผู้ปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุข มาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องโดยเครื่อข่ายกระบวนกรจากหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง ต่อมาในปี 2561 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ได้มอบหมายให้มูลนิธิฯ ปรับปรุงกิจกรรมที่สามารถใช้กับกลุ่มพนักงานในสถานประกอบการ รวมถึงมีการพัฒนาเป็นสื่อออนไลน์สร้างการเรียนรู้ด้วยจากสถานการณ์และบริบทในสังคมปัจจุบันที่เด็กและวัยรุ่นยุคใหม่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว การสื่อสารทางสังคมที่ผู้ใหญ่มักตามไม่ทัน เกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างช่วงวัยไปถึงในระดับครอบครัวด้วย ซึ่งในช่วงปลายปี 2563 สสส. ได้มอบหมายให้มูลนิธิฯ ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร “การสื่อสารเชิงบวกและเรื่องเพศสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่น” เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งในครอบครัวจากการสื่อสารพูดคุยกันดีๆ สร้างความสุขในบ้านซึ่งคือฐานในการลดปัญหาสั่งคม โดยสนับสนุนการนำไปใช้ในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองระดับชุมชนต่างๆ การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนเรื่องนี้ในระดับนโยบาย

มูลนิธิฯ จึงใช้โอกาสนี้ปรับปรุงกิจกรรมเดิมที่เคยใช้ได้ดีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และพัฒนากิจกรรมใหม่เพิ่มเติม โดยได้นำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดสอบเปิดห้องเรียนพ่อแม่ในพื้นที่ต่างๆ และปรับปรุงจนผู้ใช้หลักสูตรหรือกระบวนกรสามารถใช้ได้ผลดีซึ่งผู้ที่นำคู่มือไปใช้ควรได้รับการเตรียมด้านทัศนคติโดยเฉพาะต้นทุนเรื่องครอบครัว ความแตกต่างหลากหลายของคนในสังคม

ไทย แนวคิดเชิงบวก และกระบวนการสร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม รวมทั้งได้จัดทำคลิปตัวอย่างการจัดกิจกรรมเผยแพร่ให้กับผู้สนใจที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว ได้ดูเป็นตัวอย่างควบคู่กับคู่มือนี้ด้วย


คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาคส่วนที่ทำงานด้านนี้เพื่อช่วยกันทำให้บ้าน “อยู่เย็น เป็นสุข” ถือเป็นการสร้างรากฐานด้านคุณภาพชีวิตประชากรต่อไป

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here