“ถุงยางอนามัย” อุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดเดียวที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอซไอวี เป็นทางเลือกแห่งความปลอดภัย น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะ “ผู้หญิง” กลับมองผ่าน ไม่กล้าข้องแวะ ตลอดจนไม่คิดจะเลือกใช้อุปกรณ์ที่นำมาซึ่งความปลอดภัยนี้ เนื่องจากเห็นว่า “ถุงยาง” เป็นสัญลักษณ์แทนความหมายในทางลบ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยละเลยคุณสมบัติสำคัญ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและชีวิต จึงไม่น่าแปลกใจที่การติดเชื้อเอซไอวีรายใหม่พบว่า เป็นวัยรุ่นและผู้หญิงที่มีสถานะเป็น “ภรรยา” มิใช่หญิงบางกลุ่ม เช่นหญิงที่ทำอาชีพเกี่ยวข้องกับการบริการทางเพศที่ถูกมองว่าเสี่ยงอีกต่อไป นั่นหมายความว่า “ผู้หญิง” ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี หากมีพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย โดยไม่รู้ว่าคู่ของเรามีเชื้อเอชไอวีหรือไม่แต่ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงก็มีทางเลือกที่จะทำให้ตัวเราเองปลอดภัย ถึงเวลาแล้วที่เราต้องทำความเข้าใจ เปลี่ยนความเชื่อซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เรา ร่วมสร้างค่านิยมใหม่ให้กับถุงยางอนามัย เครื่องมือประเภทเดียวในขณะนี้ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ และเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดหวังว่าหนังสือ ๑๒ ความจริงเกี่ยวกับถุงยางอนามัยความปลอดภัยที่ผู้หญิงเลือกได้ด้วยตนเองเล่มนี้ คงช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงทุกคนที่รักและห่วงใยในความปลอดภัยของตนเองและของคนที่เรารัก ได้เริ่มลงมือเลือกวิธีที่นำมาซึ่งความปลอดภัยให้ตนเองด้วยตัวเราเอง โดยไม่ต้องรอใคร
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
100 คำถามเรื่องเพศล้วนๆ
เพศศึกษา เป็นการศึกษาและการให้ความรู้เกี่ยวกับ "ความเป็นเพศ" ไม่ใช่ "การมีเพศสัมพันธ์" ที่ทุกคนในสังคมจะต้องรับรู้ ว่าเรื่องเพศ เป็นเรื่องธรรมชาติ ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของร่างกาย และระบบการเจริญพันธุ์ทั้งชาย และหญิง ที่สัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย
"100...
เติมความให้เต็มคำ : เพศศึกษารอบด้านในสังคมไทย
พอพูดถึง 'เรื่องเพศ' ที่ไม่ใช่แค่การพูดทีเล่นทีจริงในการสนทนา คนจำนวนมากจะพบว่าตนเองเกิดความ 'กระอักกระอ่วนใจ' ที่จะต้องมีการสนทนาในเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ใด้สนิทชิดเชื้อกันจริงๆ หรือแม้กระทั่งในหลายครอบครัว 'เรื่องเพศ' ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะนำมาสนทนากันได้แม้เราจะยอมรับกันว่า 'เรื่องเพศ' เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และอยู่ในห้วงความคิดหลายขณะในแต่ละวัน แต่...
ก้าวที่กล้าบนทางไกล
หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามในการเสนอตัวอย่างของการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาลงสู่สถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนในทุกระดับชั้นจากมัธยม ๑ ถึง ๖ ได้มีโอกาสเรียนเพศศึกษาอย่างน้อย ๑๖ คาบในแต่ละปีการศึกษา โดยมีแผนการสอนที่ชัดเจนและเป็นเพศศึกษาที่ "รอบด้าน"(Comprehensive Sexuality Education) ตามมาตรฐานขั้นต่ำที่ยอมรับกันทางสากล ซึ่งองค์การแพธ(PATH)...