ผลึกความคิด

169

เจตนาของบทความนี้ เพื่อเป็นการรวบรวมข้อคิดเห็น และการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้จัดการหรือหัวหน้าโครงการในองค์กรภาคีหลักที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยจัดการ (Node) ควบคุมกำกับให้เกิดการดำเนินงาน ผลักดันการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดผลตามความคาดหวังของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ หลังจากร่วมดำเนินงานกับองค์การ PATH เป็นระยะเวลา ๒-๕ ปี (แต่ละหน่วยมีการเข้าร่วมโครงการในระยะเวลาต่างๆ กัน) องค์การ PATH ในฐานะหน่วยงานที่เป็นผู้รับทุนจากโครงการกองทุนโลก ผ่านกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการออกแบบโครงการ และคัดเลือกหน่วยงานภาคีมาร่วมเป็นหน่วยจัดการตามภาคต่างๆ เพื่อดำเนินการให้เกิดการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังมีหน่วยจัดการที่ร่วมกันผลักดันเพศศึกษาในระบบของอาชีวศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน และกลุ่มสถาบันของราชภัฏมาร่วมดำเนินการ โดยองค์การ PATH ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนวิชาการ ออกแบบหลักสูตรการอบรม และยุทธวิธีดำเนินงานรวมทั้งดำเนินการเองในฐานะหน่วยจัดการสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้กำกับทิศทางการดำเนินงานของโครงการในภาพรวม

เป้าหมายและกลวิธีที่ออกแบบไว้ในโครงการ แม้จะมีความชัดจนในระดับหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่า เป็นเพียง “ธง”ในการทำงาน องค์การ PATH เองก็ไม่ให้มีประสบการณ์ที่จะผลักดันงานในระดับนี้มาก่อน หากเปรียบโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ องค์การ PATH คือผู้เขียนแปลน มีหน่วยจัดการต่างๆ ร่วมเป็นผู้รับเหมา ร่วมสร้างส่วนต่างๆ ของสิ่งก่อสร้างขนาดมหึมานี้ ซึ่งผู้ออกแบบเองก็มีภาพในจินตนาการของตนเองแต่ยังมิได้เคยลงมือจนมอง

เห็นชัดถึงสิ่งก่อสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ตามแปลน ในห้าปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าการวางรากฐานและเค้าโครงของสิ่งก่อสร้างได้ก่อรูปขึ้นแล้ว แต่ใช่ว่าภารกิจของการก่อสร้างจะเสร็จสิ้นลง เพราะเค้าโครงเหล่านี้ยังรอการต่อเติมที่สมบูรณ์ และระหว่างการก่อสร้างวางรากฐาน ก็ให้มีการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ว่าหลายส่วนที่ออกแบบไว้ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่จะปฏิบัติใด้ต้องแก้ไขดัดแปลง “แปลน” ให้เป็นไปเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดตามที่ควรจะเป็น

“ผลึกความคิด” ที่สะท้อนบทเรียนการดำเนินงานในหนังสือนี้ มาจากประสบการณ์ตรงของผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรม จัดเวทีแลกเปลี่ยน พัฒนาแนวคิดต่อยอด ถกเถียงหารือ แล้วลงมือปฏิบัติ สื่อสารผลักดัน ติดตาม เพื่อเก็บเกี่ยวผลการดำเนินงานแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลาย แน่นอนว่า หลายเรื่องเป็นบริบทเฉพาะพื้นที่และหน่วยงาน จึงต้องปรับเนื้อหากระบวนการทำงานไปตามลักษณะพื้นที่รวมถึงตัวหน่วยจัดการเองเพราะมีทั้งที่เป็นหน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานด้านการศึกษา หน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชน แต่ท้ายที่สุดแล้ว “ตัวหลัก” ของโครงการเหล่านี้ ต่างมีแง่มุมที่ตนเองเก็บเกี่ยว เป็นการเรียนรู้ส่วนบุคคล และไห้กลั่นกรองเป็นข้อคิดเห็นที่มีคุณค่าต่อการทำงานพัฒนาเพศศึกษาในระบบการศึกษาและการพัฒนาเยาวชนของสังคมไทย

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here