เอดส์กับอื่นๆ อีกมากมายในชีวิต

189

ข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน ปี ๒๕๕๑ กระทรวงสาธารณสุขคาดว่ามีคนไทยติดเชื้อเอชไอวีแล้วกว่า ๘๐๐,๐๐๐ คน เท่ากับว่าโดยเฉลี่ยจะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกือบ ๔๐ คนต่อวัน แต่มีเพียงประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ คนเท่านั้นที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส คนส่วนใหญ่จะมารับการรักษาต่อเมื่อป่วยมากหรือมาในภาวะที่ภูมิคุ้มกันต่ำมาก ซึ่งจะทำให้การรักษามีขั้นตอนซับซ้อนและมีโอกาสเสียชีวิตสูง

ขณะเดียวกัน จากรายงานการสำรวจความเห็นสตรีอายุ ๑๕-๔๙ ปีทั่วประเทศ จำนวน ๓๖.๙๖๐ คน จาก ๔๐,๕๑๑ ครัวเรือน โดยองค์การยูนิเซฟ ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และกระทรวงศึกษาธิการ พบว่ากลุ่มที่สำรวจมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเอดส์สูงสุดเพียง ๕๕% เท่านั้น (ตามรายภาค) และยังพบว่า ๗๙% ตั้งข้อรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างน้อย ๑ ข้อ ๖๕% จะไม่ซื้ออาหารที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีขาย และ ๒๙% คิดว่าครูที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่ควรมาสอนหนังสือ

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนว่าแม้คนไทยรู้จักคำว่าเอดส์มากว่า ๒๓ ปี โดยผ่านการรณรงค์จากภาครัฐและเอกชนมากมาย หากความรู้ ความเข้าใจในคำว่า เอดส์ ก็ยังไปไม่ไกลจากจุดเริ่มแรกของการรู้จักเท่าไหร่นัก

แม้ปัจจุบัน คำว่า “เอดส์ รักษาได้” กำลังเข้ามาแทนที่คำเดิมที่เคยได้ยินกันคุ้นหู ทว่ายังมีคำถามมากมายสะท้อนว่าคนจำนวนมากยังไม่เชื่อ

เอดส์เป็นแล้วตาย จึงยังคงเป็นภาพที่คนจดจำ ฝังลึก

หนังสือ “เอดส์กับอื่น ๆ อีกมากมายในชีวิต” คือการรวบรวมข้อมูลความรู้รอบด้านที่เกี่ยวกับ “เอดส์” จากผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับการรณรงค์เพื่อให้คนเข้าถึงการรักษาเอดส์ จากคอลัมน์ คือความเข้าใจ โดยสมวงศ์ อุไรวัฒนามูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารสังวาสสาระ Sexchange ซึ่งเป็นวารสารรายสามเดือนของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ และจากคอลัมน์

บนเว็บไซต์ www.aidsaccess.com เรื่องเราอยากเล่าให้ฟัง ของมูลนิธิเข้าถึงเอดส์

โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะช่วยผู้อ่านให้เกิดความเข้าใจ และเชื่อมั่นว่า เอดส์ รักษาได้จริง ทำไมเราจึงควรแยกระหว่างคำว่า เอชไอวี กับคำว่า เอดส์ และแม้เอดส์อยู่ใกล้ตัวกว่าที่ทุกคนคาดไว้แต่ก็ไม่ได้ติดกันง่ายๆ เราจึงไม่ควรกลัวคนที่ “เป็นเอดส์” นอกจากไม่กลัวแล้ว เรายังสามารถอยู่ร่วมกับเอดส์ได้

เพราะเอดส์เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ อีกมากมายในชีวิตของเรา

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here