ใต้เงาฮิญาป

349

3 ปีที่ผ่านไป มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ได้มาทำงานเรื่องเอดส์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นปัตตานี ยะลานราธิวาส สิ่งที่พบเห็นอยู่ทั่วไปคือ คนในพื้นที่ส่วนใหญ่เชื่อว่า เอดส์อาจจะเป็นปัญหาของจังหวัดอื่น แต่ไม่ได้เป็นปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ด้วยเหตุผลหลักที่ทำให้เข้าใจอย่างนั้นก็คือ วิถีมุสลิมที่ยึดมั่น และอีกเหตุผลที่สำคัญคือ แทบไม่พบหรือได้ยินว่ามีคนเป็นเอดส์ในชุมชนหรือถ้ามีก็น้อยมาก ซึ่งทำให้ตอกย้ำความเชื่อนี้

แต่จากข้อมูลที่ปรากฏจริง คือ มีผู้ติดเชื้อเอซไอวีจำนวนมากมารับยาต้านไวรัสเอชไอวีที่โรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว และยังมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเจ็บป่วยและเสียชีวิต เนื่องจากเข้าถึงการรักษาที่ช้าและการรักษาตัวที่ไม่ต่อเนื่อง!!! ทั้งที่ในปัจจุบันการรักษาเอดส์ป็นเรื่องที่รักษาได้และทุกคนที่เป็นคนไทยมีสิทธิในการรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีข้อที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ตรงที่ว่า แทบไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่พร้อมจะเปิดตัวกับชุมชนอย่างเต็มใจ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ เพราะการที่เรามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีลุกขึ้นมาเล่าเรื่องของตัวเอง ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นในแง่มุมของความมีชีวิตมากกว่าเข้าใจเอดส์ในแง่มุมของโรค คำถามที่ต้องช่วยกันตอบว่า เพราะอะไร ผู้ติดเชื้อเชไอวีในแถบนี้ถึงไม่พร้อมจะเปิดเผยตนเองต่อชุมชน

หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นเพราะมูลนิธิฯ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องเอดส์ผ่านวิถีชีวิต ประกอบกับมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ อยากจะแบ่งปันเล่าเรื่องชีวิตของตนเองในแง่มุมต่างๆ ทั้งทัศนคติ ความเข้าใจ ความรู้ ต่อเรื่องเอดส์ที่อยู่ในวิถีชีวิตปกติธรรมดาของคนๆ หนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ตลอดทั้งชีวิต อาจจะมีบางช่วงที่ต้องออกจากพื้นที่ไปประกอบอาชีพบ้าง แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมาที่พื้นที่เพราะที่นี่เป็นบ้านของเขา หนังสือเล่าชีวิตเล่มนี้จึงเกิดขึ้นมา

ขอขอบคุณทุกๆ คนที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือ จนทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จออกมาได้ และที่ต้องชอบคุณมากที่สุดก็คือคนต้นเรื่องในหนังสือเล่มนี้ ที่ช่วยเริ่มถางทางตั้งตัน เปิดทางให้เกิดการทำงานเรื่องเอดส์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างมีความหมายและลึกซึ้งมากกว่า “โรค” ชนิดหนึ่งเท่านั้น

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here