สาระสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ปรับปรุงใหม่)

496

การมีสุขภาพที่ดี และมีสุขภาวะเป็นภาวะที่สมบูรณ์ในทุกด้านทั้งกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมสติปัญญาหรือจิตวิญญาณ ไม่ใช่เพียงการไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเพียงเท่านั้น การสร้างเสริมสุขภาวะจึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบตนเองของทุกคน สุขศึกษาเป็นรายวิชาที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงแนวคิด หลักการและวิธีการที่จำเป็นเบื้องต้นในการสร้างเสริม ดูแล และป้องกันโรคและอันตรายต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทุกรูปแบบ ที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในการดำรงชีวิตประจำวันของตัวเรา

นอกจากเนื้อหาความรู้ที่จำเป็น ทั้งหลักปฏิบัติเบื้องต้นด้านพฤติกรรมสุขภาพ การกิน การอยู่การดูแลสุขอนามัย การเคลื่อนไหวออกกำลังกาย หรือครบมิติสุขภาพด้านกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมจิตวิญญาณ ตัวเราต้องตระหนักถึงการลดหรือควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมเสพติดและการใช้สารเสพติด พฤติกรรมรุนแรง และการรู้วิธีเอาตัวรอดจากความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพอันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิต ทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ เช่น ภัยพิบัติ ปัญหาสุขอนามัยสภาพแวดล้อม โรคระบาดติดต่อในชุมชน รวมถึงหลักการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นในเบื้องต้นให้ปลอดภัย หรือการช่วยฟื้นคืนชีพ และการปฐมพยาบาล โดยเราต้องมีความฉลาดรู้ด้านสุขภาพ หรือการมีทักษะพื้นฐานที่จะช่วยให้เราสามารถดูแลตัวเอง ป้องกันโรคและภัยอันตราย หรือเผชิญกับปัญหาสุขภาพได้อย่างปลอดภัย เช่น การมีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล พิจารณาความน่าเชื่อถือและนำไปปฏิบัติได้ คิดวิเราะห์ตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หรือมีทางเลือกที่ปลอดภัยขอความช่วยเหลือหรือรับบริการเมื่อจำเป็น

หนังสือแบบเรียนสุขศึกษาชุดนี้ ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการสร้างสุขภาวะและความฉลาดรู้ด้านสุขภาพของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่   1-6 โดยมีคำถามให้เราได้ทบทวนและใคร่ครวญความตระหนักรู้ของตัวเองต่อการดูแลสุขภาพมิติต่างๆ โดยมีคำถามและกิจกรรมกระตุ้นการเรียนรู้ก่อนเริ่มต้นบทเรียน กิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะสุขภาพให้ลงมือปฏิบัติ คำถามสำคัญเพื่อสรุปองค์ความรู้ความเข้าใจ และตรวจสอบกันที่นี่เป็นการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่นที่สำคัญผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้เราได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด

สำหรับครูผู้สอน มีคู่มือครูสร้างสุขภาวะ จำนวน 2 ชุด ได้แก่ คู่มือแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้สุขภาวะ และคู่มือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สุขภาวะสำหรับครูสุขศึกษาหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้สอนรายวิชาสุขศึกษา โดยมีเป้าหมายจัดการเรียนรู้เพื่อการสร้างสุขภาวะให้กับผู้เรียนและหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่สุขภาวะผู้เรียน โดยผ่านรายวิชาสุขศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

ตัวอย่างการจัดกระบวนการเรียนรู้

บทที่ ๕ โภชนาการต่างวัย

บทที่ ๑๐ ชุมชนของเรา สิทธิของเรา

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here