คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษา สำหรับอาชีวศึกษา

247

คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษา เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้วิชาเพศศึกษา รหัสวิชา ๒๐๐๐-๑๖๑๒ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ปรับปรุง ๒๕๔๖) เล่มนี้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการ ‘ก้าวย่างอย่างเข้าใจ” อันเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข ภาคีจากองค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์และภาคธุรกิจ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกเพื่อการแก้ไขปัญหาเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย (Global Fund on AIDS, TB, Malaria – GFATM) ผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข บริหารโครงการโดยองค์การแพธ (PATH)

คู่มือเล่มนี้สำเร็จลงได้ด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย และความพยายามผลักดันให้เกิดการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างเป็นระบบในอาชีวศึกษาอาจไม่สำเร็จผล หากปราศจากการสนับสนุนที่สำคัญจากท่านเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ ที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนในระบบอาชีวศึกษา และเห็นว่าวิชาเพศศึกษาเป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาที่จะเอื้อประโยชน์กับเยาวชน โดยเห็นชอบ อนุมัติให้ประกาศ “เพศศึกษา” เป็นรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรปัจจุบัน รวมทั้งให้การสนับสนุนสถานศึกษานำร่องทั้ง ๑๗ แห่งเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาภายใต้โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ

ขอขอบคุณผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ นางสิริรักษ์ รัชชุศานติ ที่ให้การสนับสนุนตลอดจนให้แนวทางและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ทั้งในการพัฒนาหลักสูตรเพศศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น และในการวางแผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันให้เกิดการเรียนการสอนวิชา “เพศศึกษา” ขึ้นในสถานศึกษาของอาชีวศึกษา

ขอขอบคุณผู้บริหารสถานศึกษานำร่องทั้ง ๑๗ แห่งและคณะทำงานในจังหวัดนครศรีธรรมราชและอุดรธานี ที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการอย่างดียิ่ง นอกจากการสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้ครูได้ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาซึ่งเป็นวิชาใหม่ในสถานศึกษาได้อย่างมั่นใจแล้ว ยังร่วมกับโครงการในกระบวนการนิเทศติดตามครู และให้ข้อคิดเห็นตลอดจนมีส่วนร่วมในการทำให้การดำเนินงานของโครงการปีที่ ๑ สำเร็จลงด้วยดี

ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเพศศึกษาสำหรับเยาวชนในอาชีวศึกษาและคู่มือเล่มนี้ คณะผู้จัดทำได้ศึกษารวบรวม คิดค้น และดัดแปลงกิจกรรมต่าง ๆ จากหลักสูตรที่มีอยู่ จากคู่มือหรือเอกสารเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและทักษะการดำเนินชีวิต ของหน่วยงานทั้งในและนอกประเทศ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับเยาวชนอาชีวศึกษาเป็นหลัก แน่นอนว่าคู่มือนี้ยังอาจไม่สมบูรณ์ และต้องการการแก้ไขปรับปรุงอีกเป็นระยะ ๆ หลังจากได้ทดลองใช้ ทางองค์การ PATH หวังเป็นอย่างยิ่งว่จะได้รับคำแนะนำในการปรับปรุง แก้ไขคู่มือเพื่อให้สามารถรับใช้การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อประโยชน์ของเยาวชนในระบบอาชีวศึกษาต่อไป

ขอขอบคุณ Global Fund ที่สนับนุนให้เกิดโอกาสในการผลักดันงานเพศศึกษาในสังคมไทยได้คืบหน้าไปอีกหนึ่งก้าว และก่อให้เกิดเครือข่ายผู้ใหญ่ที่พร้อมจะเข้าใจและเรียนรู้ไปพร้อมกันกับเยาวชนมากขึ้น

ขอขอบคุณ หน่วยงานต่าง ๆ และเพื่อนร่วมทางทั้งในงานเอดส์และงานส่งเลริมเพศศึกษาสำหรับเยาวชน ซึ่งมิอาจเอ่ยนามได้ทั้งหมด ที่เป็นทั้งครู เพื่อน และแหล่งข้อมูล ทั้งแบ่งปัน ทั้งให้หยิบยืมประสบการณ์ และยังให้ข้อคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะ ตลอดกระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรและคู่มือเล่มนี้

ขอขอบคุณคณะครูที่ร่วมพัฒนาหลักสูตร ที่ได้นำประสบการณ์การสอน ความเข้าใจในตัวเด็กและเยาวชน หัวใจที่เปิดกว้างพร้อมเรียนรู้ ค้นหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน รวมทั้งความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานให้ลุล่วง

ที่สำคัญ ต้องขอขอบคุณคณะครูจากสถานศึกษานำร้องทั้ง ๑๗ แห่ง ดังรายชื่อที่ปรากฎในภาคผนวก ที่ร่วมเป็นแนวหน้าในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาให้กับเยาวชน รวมทั้งได้ถ่ายทอดประสบการณ์ บทเรียน ปัญหาอุปสรรค์ และข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรและคู่มือครูเล่มนี้

และท้ายสุดคือ เด็กและเยาวชน ที่เป็นแรงบันดาลใจ และเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ร่วมกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศและเรื่องราวของชีวิตด้วยกัน

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here