คู่มือการจัดกิจกรรมรณรงค์ประกอบหนังสั่น “ทางเลือก”

242

ในประเทศไทย มีวัยรุ่นอายุ ๑๐-๑๙ ปี ประมาณ ๑๐ ล้านคน เป็นชายหญิงในสัดส่วนที่เท่ากัน และเป็นวัยรุ่นที่อยู่นอกระบบการศึกษาประมาณสองล้านคน

สถิติสาธารณสุข พบว่า การคลอดของวัยรุ่นในปี พ.ศ.๒๕๕๒ มีจำนวนมากถึง ๑๒๒,๗๓๖ คน (ร้อยละ ๑๖ ของการคลอดทั้งหมด) นั่นคือ ประมาณ ๓๓๖ คนต่อวัน และพบว่า อัตราการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นหญิงเพิ่มขึ้น จาก ๓๑.๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น ๕๐.๑ คน ต่อประชากรหญิง ๑,๐๐๐ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อมูลจากงานวิจัยหลายแห่งได้บ่งชี้ถึงปัจจัยหลายประการที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพของเด็กที่คลอดจากแม่วัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าปกติ อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการคลอด ตลอดจนถึงการเลี้ยงดูทารกให้สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและสติปัญญา ซึ่งจะด้อยกว่าการคลอดในแม่ที่มีอายุสูงกว่า

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจำนวนมาก เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจซึ่งเป็นผลจากการไม่ได้ป้องกัน โดยพบว่า เยาวชนจำนวน ๑ ใน ๓ ไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์ และมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ใช้ถุงยางอนามัย และเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่ใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (อนามัยโพล, ๒๕๕๑)

เมื่อตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยจึงตัดสินใจทำแท้ง แต่เนื่องจากการทำแท้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญาผู้หญิงที่ทำแท้งจะอับอายและปกปิด ดังนั้นจึงไม่ทราบจำนวน

การทำแท้งที่แท้จริง จากการสำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ทำแท้ง มีอายุระหว่าง ๑๗-๒๐ ปี ร้อยละ ๒๓.๘เคยทำแท้งมาก่อน และร้อยละ ๒๙ ไม่ได้คุมกำเนิด การทำแท้งยังมีอัตราการตายสูงถึง ๓๐๐ คน ใน ๑๐๐,๐๐๐ คน

นอกจากต้องเผชิญการตั้งครรภ์ไม่พร้อม วัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยและมีคู่หลายคน จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ และเอชไอวี จากรายงานของกรมควบคุมโรคเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเยาวชนพบว่า เยาวชนมีแนวโน้มการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจาก ๒๓.๔ ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น ๓๔.๘ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค, ๒๕๕๑)

ส่วนเอดส์นั้น พบว่าในช่วงที่ผ่านมา (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๕๒) อัตราป่วยเอดส์ในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยในกลุ่มอายุ ๑๐-๑๙ ปี ผู้ชายและผู้หญิงป่วยเอดส์ ในสัดส่วนที่พอๆ กันหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า ๒๐ ปี ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ ๐.๕ มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น (สำนักระบาดวิทยา, ๒๕๕๓) และพบว่าผู้ป่วยเอดส์ร้อยละ ๘๔ ได้รับเชื้อเอชไอวีมาจากการมีเพศสัมพันธ์

จากสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับข้อมูลในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ระบุว่า ค่าเฉลี่ยของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีของประเทศไทย อยู่ที่ ๗๐ คนต่อ ๑,๐๐๐ คน ซึ่งสูงกว่าทั้งคำเฉลี่ยทั่วโลกที่ ๖๕ ต่อ๑,๐๐๐ คน และในทวีปเอเชียที่ ๕๖ ต่อ๑,๐๐๐ คน เป็นเหตุให้เกิดความสนใจต่อประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง รัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานบอร์ดกองทุนสร้างเสริมสุขภาวะได้เสนอให้มีการจัดทำแผนเร่งรัดเพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนในสถานศึกษา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกระทรวงศึกษาธิการ จึงร่วมกันจัดทำโครงการนำร่องเพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ในวัยรุ่น โดยให้องค์การแพธ (PATH ) ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานส่งเสริมเพศศึกษาในสถานศึกษาและได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยการสนับสนุนจากกองทุนโลกเพื่อเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย ผ่านกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นองค์กรดำเนินการพัฒนากิจกรรมรณรงค์และได้ทดลองนำร่องในสถานศึกษา ให้เสร็จสิ้นในภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here