Home หลักสูตรและหนังสือ หนังสือของโครงการ ทำเนียบรายนามหน่วยประสานงานสถานศึกษา และผู้ประสานงานโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ร่างกายเราเป็นของเรา..นะสาวเอย
ร่างกายเราเป็นของเรา จึงเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องเรียนรู้ ดูแล และรักร่างกายของตนเอง การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของเราเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น อีกทั้งทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราด้วยความมั่นใจ ไร้กังวล และไม่เกิดความสับสนจนกลายเป็นความทุกข์ หรือวิตกกังวลมากเกินไปจนเกิดผลเสียต่อตัวเองตามมา
รู้จักตัวเรา ร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายตอนเด็กๆ จะยังไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก...
คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษา สำหรับอาชีวศึกษา
คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษา เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้วิชาเพศศึกษา รหัสวิชา ๒๐๐๐-๑๖๑๒ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ปรับปรุง ๒๕๔๖) เล่มนี้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการ 'ก้าวย่างอย่างเข้าใจ" อันเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข ภาคีจากองค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์และภาคธุรกิจ...
เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม
เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม โดยสมาชิกของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดทำหนังสือ "เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม คู่มือคนทำงาน: ร่วมด้วยช่วยกันดูแล" เพื่อเป็นคู่มือในการให้ข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขและดูแลปัญหาท้องไม่พร้อมในสังคมไทย โดยภายในหนังสือเล่มนี้ยังมีรายชื่อหน่วยงานที่ให้บริการเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมอย่างรอบด้านด้วยหนังสือของเครือข่ายท้องไม่พร้อมฯ นี้ ได้จัดทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2550 โคยการจัดทำล่าสุดนี้เป็นการพัฒนาเนื้อหา ข้อมูลการส่งต่อบริการ...
บังคับทรงผม = ข่มขืน (27 พฤษภาคม 2563)
บังคับทรงผม = ข่มขืน
คอลัมน์ : คุยเรื่องเพศกับพระชายเรื่องโดย : พระชาย วรธรรม
เมื่อวันที่ 1พฤษภาคม ที่ผ่านมามีประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนที่สำนักข่าวต่าง ๆ ขึ้นหัวข่าวประมาณว่า “เด็กไทยมีเฮจะได้ไว้ผมยาว” แต่เมื่อถึงเวลาจริง ๆ ข้าพเจ้าคิดว่าเด็ก...
จำอวด “โอเน็ต” หนังสือพิมพ์มติชน ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ โดย: นิธิ เอียวศรีวงศ์ [6 มีนาคม...
ข้อสอบโอเน็ตปีนี้ ก็เหมือนกับทุกปีที่ผ่านมา คือถูกสื่อต่างๆ นำมาหัวเราะเยาะเย้ยกันอย่างทั่วถึง และคำอธิบายของผู้รับผิดชอบการออกข้อสอบก็เหมือนทุกปีที่ผ่านมานั่นคือต้องการให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เป็น
ช่างเป็นคนที่อดทนมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์อะไรเช่นนี้
แม้จะน่าเยาะเย้ยให้เป็นที่น่าขบขันอย่างไรความมุ่งหมายของคณะกรรมการออกข้อสอบไม่ใช่สิ่งที่น่าเยาะเย้ยแต่ประการใด ซ้ำยังน่าส่งเสริมอีกด้วย เพราะการศึกษาไทยขาดการฝึกให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง จะว่าไปการคิดวิเคราะห์เป็นหัวใจของการศึกษาเลยทีเดียวก็ว่าได้ โดยเฉพาะในการศึกษาของโลกปัจจุบัน เพราะข้อเท็จจริงต่างๆ นั้นล้าสมัยไปอย่างรวดเร็วจนกระทั่งไร้ประโยชน์แต่การคิดวิเคราะห์เป็นต่างหากที่จะติดตัวนักเรียนไปตลอดชีวิต และทำให้เขารู้จักปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงนานาชนิดซึ่งถั่งโถมเข้าสู่ชีวิตของเขาได้ตลอดไป
...