ก้าวที่กล้าบนทางไกล

228

หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามในการเสนอตัวอย่างของการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาลงสู่สถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนในทุกระดับชั้นจากมัธยม ๑ ถึง ๖ ได้มีโอกาสเรียนเพศศึกษาอย่างน้อย ๑๖ คาบในแต่ละปีการศึกษา โดยมีแผนการสอนที่ชัดเจนและเป็นเพศศึกษาที่ “รอบด้าน”(Comprehensive Sexuality Education) ตามมาตรฐานขั้นต่ำที่ยอมรับกันทางสากล ซึ่งองค์การแพธ(PATH) ได้ผลักดันเรื่องนี้มาโดยตลอดในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

เนื่องจากยังไม่เป็นที่ตกลงกันว่า “เพศศึกษา” จะมีที่ยืนอย่างไรในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีแปดสาระหลัก และมักจะมีความเห็นจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่า “เพศศึกษา” น่าจะอยู่ในสาระสุขศึกษาได้ แต่ด้วยความที่ยังไม่มีการปรับปรุงเนื้อหาสุขศึกษาให้เป็นที่ตกลงร่วมกันว่าจะให้น้ำหนักกับเรื่องใด เพศศึกษาที่อยู่ในสุขศึกษาอย่างเดียวจึงไม่มีจำนวนคาบที่จะจัดลงได้ทั้ง ๑๖ คาบ ดังนั้นแล้ว ในหลายๆ สถานศึกษาที่เห็นความจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาให้ได้ ๑๖คาบต่อปี จึงต้องหาวิธีที่จะ “บูรณาการ” เพศศึกษาเข้าสู่หลักสูตรสถานศึกษาที่แตกต่างกันออกไป

ตัวอย่างโรงเรียนที่รวบรวมมาจำนวนหนึ่งนี้ คือกรณีศึกษาของโรงเรียนที่ได้พยายาม “จัดการ” ให้เพศศึกษาได้ลงสู่หลักสูตรสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ส่วนจะยั่งยืนเพียงไรยังต้องรอการพิสูจน์ว่า เมื่อเปลี่ยนผู้บริหารสถานศึกษา หรือเมื่อโรงเรียนเห็นว่ามีเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า

เยาวชนทั้งหลายของเราจะได้เรียนเพศศึกษาต่อเนื่องในทุกชั้นปีในช่วงเวลาที่ได้อยู่ในโรงเรียนมัธยมหรือไม่ ความท้าทายหลักของการผลักดันให้เกิดการเรียนการสอนเพศศึกษาโดยมีพื้นที่ที่ชัดเจนในหลักสูตร ยังคงอยู่ที่ว่า เป้าหมายของการศึกษาไทย ให้ความสำคัญกับเรื่องใดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน

องค์การแพธ (PATH) หวังว่า การรวบรวมตัวอย่างให้เห็นถึงวิธีการแต่ละโรงเรียนใช้ในการจัดการให้เพศศึกษาสอนได้ในหลักสูตรสถานศึกษาปีละ ๑๖ คาบ ทุกชั้น จะเป็นข้อมูลให้สถานศึกษาอื่นๆ เห็นความเป็นไปได้ที่จะจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในสถานศึกษาของตน และขอขอบพระคุณผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเยาวชน ในสถานศึกษาทั้ง ๒๗ แห่ง ที่ได้แบ่งปันเรื่องราว และที่สำคัญได้ใช้ความพยายามที่น่าชื่นชมในการช่วยกันจัดการจนกระทั่งเกิดการตกลงกันได้ว่าโรงเรียนจะจัดการให้เพศศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษาที่ยั่งยืนได้อย่างไร แม้ว่าในหลายโรงเรียนจะหมายถึงการที่ครูจะต้องทำงานหนักขึ้นก็ตาม สิ่งที่เห็นว่าเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดความสำเร็จจากตัวอย่างเหล่านี้ ก็คือการได้เห็นประโยชน์ว่า เพศศึกษา คือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตเยาวชน และถ้าไม่สอน ก็เท่ากับว่าโรงเรียนไม่ได้ทำหน้าที่ที่สมบูณ์ ในการเตรียมเยาวชนให้สามารถผชิญชีวิตภายหน้าอย่างปลอดภัย

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here