โลกรอบตัวเรานี้เต็มไปด้วยเรื่องมากมายที่ชวนให้นึกสงสัยบางเรื่องอยู่ใกล้ตัวเรามาก ทำให้เราอยากได้คำตอบชัดๆ อ่านง่ายๆหนังสือเล่มนี้รวบรวมคำถามเกี่ยวกับเอดส์และเชื้อเอชไอวีที่หลายคนอยากรู้คำตอบลองพลิกเลือกดูว่ามีคำถามข้อไหนที่กำลังอยากรู้อยู่พอดีหรือเปล่าถ้าอ่านจบแล้วยังมีคำถามอีกก็เขียนมาถามกันได้ตามที่อยู่หน้าสุดท้ายอย่าลืมลองนับดูด้วยล่ะว่าคำถามทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้มีกี่ข้อเฉลยอยู่หน้าสุดท้ายจ้ะ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
[TEACHER VOICE] เพ็ญศิริ ศรีจันทร์ ผู้ประสานงานหลักจังหวัดอุดรธานี [1 สิงหาคม 2557]
TEENPATHTV
https://www.youtube.com/watch?v=kzR_kSVRwjI&list=UUvyD444381le6dY6JOqBw5w
คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
"คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาแบบรอบด้าน (Comprehensive Sexuality Education) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔" ที่ท่านถืออยู่ในมือเล่มนี้ ซึ่งปรับปรุงจาก "คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาสำหรับเยาวชน ช่วงชั้นที่ ๓ (มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓)" และ...
ผลึกความคิด
เจตนาของบทความนี้ เพื่อเป็นการรวบรวมข้อคิดเห็น และการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้จัดการหรือหัวหน้าโครงการในองค์กรภาคีหลักที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยจัดการ (Node) ควบคุมกำกับให้เกิดการดำเนินงาน ผลักดันการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดผลตามความคาดหวังของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ หลังจากร่วมดำเนินงานกับองค์การ PATH เป็นระยะเวลา ๒-๕ ปี (แต่ละหน่วยมีการเข้าร่วมโครงการในระยะเวลาต่างๆ กัน)...
รู้จักถุงยางอนามัย : โรงเรียนบัวลาย
ผลงานครูพิชิต พิณโพธิ์ และ ครูพิชชาภรณ์ หงษ์ทองโรงเรียนบัวลายอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
คลิปประกอบกิจกรรม https://youtu.be/TUE68sTmkUM
สวนล้างช่องคลอด..จำเป็นไหม?
การสวนล้างช่องคลอดหรือบริเวณภายในอวัยวะเพศ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะในช่องคลอดของผู้หญิงจะมีสารชนิดหนึ่งที่เป็นปราการป้องกันมิให้เชื้อโรคอื่นๆ เข้าไปในช่องคลอดอยู่แล้ว และการสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ โดยใช้น้ำยาต่างๆ ที่โฆษณาขายกันทั่วไป นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังอาจเป็นอันตรายต่อผนังช่องคลอดซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ละเอียดอ่อนบอบบางอีกด้วย เพราะน้ำยาจะทำลายสารที่คอยป้องกันเชื้อโรคในช่องคลอด รวมทั้งอาจทำให้เกิดแผลในช่องคลอดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นด้วย ดังนั้นการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศจึงควรทำเฉพาะส่วนอวัยวะเพศภายนอกด้วยน้ำและสบู่ ก็ถือเป็นการรักษาความสะอาดที่เพียงพอต่อการป้องกันอาการผิดปกติในระบบสืบพันธุ์แล้ว