ในยุค ๒๐๐๐ เรื่องของการติดเชื้อ HIV และการป้องกัน ไม่จัดเป็นเรื่องแปลกใหม่แต่ในสภาพที่วิถีชีวิตชองคนในยุคนี้ โดยเฉพาะชีวิตทางเพศ ไม่ได้อยู่ในภาวะที่จะทำให้ทุกคนปลอดภัยจากการติดเชื้ออย่างที่คนส่วนมากเข้าใจกันเช่นนั้น ความโล่งใจอันเกิดจากการคาดไม่ถึง คิดแต่ว่าตนเป็นกลุ่มที่สะอาด ปลอดภัย ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง กลับจะนำไปสู่การละเลยไม่คิดถึงการป้องกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการรับหรือส่งต่อเชื้อให้กับผู้อื่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
นอกจากนี้ได้การที่เยาวชนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ทั้งแต่อายุนัอย นับว่าเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงในเรื่องนี้มากขึ้นถ้าหากว่าผู้ที่เกี่ยวข้องละเลยที่จะให้การศึกษาและช่วยให้เยาวชนมีทางเลือกที่เหมาะสม การมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชน เป็นอีกมิติหนึ่งที่ไม่สามารถแยกออกไปจากการป้องกันโรคเอดส์ และในขณะเดียวกัน กระบวนการไห้ความรู้ในเชิงป้องกันโรคติดต่ออย่างดั้งเดิม ไม่ใด้ครอบคลุมบริบทการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชน
ดังนั้น “โครงการศึกษาเพื่อพัฒนากิจกรรมการป้องกันเอดส์ในระบบการศึกษาไทย”ดำเนินการโดย องค์การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสาธารณสุข (PATH) ร่วมกับมูลนิธิสภาประชากร จึงมุ่งที่การพัฒนาหลักสูตรที่จะช่วยให้ “ผู้ใหญ่” ซึ่งอยูในฐานะที่เยาวชนสามารถยึดเอาเป็นที่พึ่งในแง่ที่เป็นผู้ “เข้าใจ – เข้าถึง” วิถีชีวิตปัจจุบันของพวกเขา ให้มีความพร้อมที่จะจัดกระบวนการเสริมสร้างวิธีคิด ตัดสินใจสำหรับเยาวชน ให้สามารถ “เลือก” มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ความปลอดภัยดังกล่าวไม่ได้หมายความเพียงแต่ปลอดจากการตั้งครรภ์อันไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ติดเชื้อ HIV แต่ยังรวมความถึงปลอดภัยจากการมีเพศสัมพันธ์โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ “พร้อม” ความไม่พร้อมสะท้อนถึงการไม่คาดคิดหรือคิดไม่ถึงว่าเหตุการณ์จะเป็นเช่นนั้นสะท้อนถึงการมี “ผู้กระทำ” และ “ผู้ตกบันไดพลอยโจน” ซึ่งเสี่ยงต่อการขาดการเตรียมการที่จะป้องกันผลใดใด ที่จะเกิดตามมา รวมทั้งสะท้อนถึงการ “ไม่ได้พูดคุยตกลงกันก่อน” ดังนั้นการเลือกมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย จึงรวมความตั้งแต่การเลือกว่าจะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ มีอย่างไรให้ปลอดภัย และหาทางที่เลือกนั้นช่วยให้พันจากอะไรได้บ้าง
ดังนั้นการ “ผู้ใหญ่” จะช่วยสร้างประสบการณ์เพื่อฝึกให้เยาวชนรู้จักตัดสินใจอย่างมีสติที่จะสานต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศให้เป็นไปอย่างที่เหมาะสมและปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่จะป้องกันเอดส์ได้ในที่สุด แต่การจัดประสบการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้มีข้อจำกัดที่สำคัญอยู่ ๒ ประการ คือ การพูดถึงเพศสัมพันธ์ยังไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ใหญ่โดยทั่วๆไป เนื่องจากผู้ใหญ่ยังเชื่อว่าต้องห้ามปรามไม่ให้เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน และเชื่อว่าการจัดประสบการณ์ดังกล่าวจะกระตุ้นหรือเปิดทางให้เยาวชนกระโจนเข้าสู่ชีวิตทางเพศเร็วขึ้น อย่างอิสระเสรีมากขึ้น ประการต่อมา การให้การศึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องที่น่าอึดอัดของผู้จัด หมายความว่าแม้จะเห็นด้วยว่าควรมีการสื่อสาร ให้ความรู้ความเข้าใจ แต่การพูดเรื่องเพศซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามทำให้เกิดความรู้สึกขัดเขิน จนเกิดเป็นข้อจำกัดให้ผู้ที่เห็นประโยชน์ในเรื่องนี้ไม่อาจลงมือทำได้โดยสะดวกใจ
หัวใจสำคัญของหลักสูตรการเตรียมความพร้อม (Train the Trainer) ของการเป็นผู้ใช้หลักสูตร “หนุ่มสาวเท่าทัน “กับเยาวชนคนหนุ่มสาว นี้ จึงประกอบด้วยการทำความเข้าใจชีวิตทางเพศของเยาวชน การเปลี่ยนบทบาทและมุมมองของ “ผู้ใหญ่” จากผู้ชี้ถูกผิด มาเป็นผู้จัดการเรียนรู้ (Facilitator) ที่ยึดเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student center) ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนได้คันพบคำตอบที่ถูกด้วยตัวเอง และคำตอบที่ถูกที่สุดนั้นย่อมแตกต่างกันไปในแต่บุคคลเนื่องด้วยภาวะที่แต่ละคนประสบอยู่นั้นมีย่อมมีรายละเอียดที่แตกต่างกันหัวใจสำคัญของหลักสูตรนี้จึงแตกต่างจากการฝึกอบรมผู้ฝึกอบรม (Train the Trainer) อื่น ๆ ตรงที่ไม่ได้เน้นเพียง “เนื้อหา”(content) แต่ให้ความสำคัญกับ “กระบวนการ” (Process) ด้วย ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (partcipative learning) ของผู้ดำเนินการ เพื่อให้ผู้ดำเนินได้รับประสบการณ์ตรงที่ใกล้เคียงเหตุการณ์เมื่อจัดการฝึกอบรมจริง และที่สำคัญยิ่งคือ ได้มองเห็น “มุมมองผู้ใหญ่” ที่อาจฝังอยู่ในทัศนะของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในฐานะทางเลือกหนึ่ง แต่ในฐานะของผู้ดำเนินการต้องแยกแยะได้ว่า อาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมของหลายคน การเข้าจมุมมองและทัศนะของตนเองจึงเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้ผู้ดำเนินการสามารถแสดงบทบาทในจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
ท้ายที่สุด ใคร่ขอย้ำว่าคุณประโยชน์ของการจัดหลักสูตรนี้ อยู่ที่การได้ช่วยให้เยาวชนสามารถดำเนินชีวิตไปอย่างรู้คิด ได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองก่อนเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา รู้จักป้องกันปัญหาที่สามารถป้องกันได้ การปฏิบัติตัวหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ของเยาวชนยุคปัจจุบันอาจเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากบรรทัดฐานในอดีตซึ่งเป็นเรื่องยากที่ผู้ใหญ่จะเห็นด้วยคล้อยตามได้ทั้งหมด แต่เมื่อ “ห้ามไม่อยู่” ก็คงไม่มีอะไรที่จะเป็นคุณไปกว่าการช่วยให้เยาวชน รู้สติ รู้คิด ก่อนทำ “ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติที่ใช้ได้กับทุกเหตุการณ์ในชีวิตด้วย