รายงานผลสรุปการประเมินโครงการ การจัดการเรียนรู้เพศศึกษา “ก้าวย่างอย่างเข้าใจ” : ผลลัพธ์ในกลุ่มผู้เรียน (พ.ศ.2549 – 2551)

238

ตลอดระยะเวลาที่โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ ที่องค์การ PATH เป็นผู้ดำเนินการหลัก ร่วมกับหลากหลายหน่วยงานภาคี ทั้งจากภาคการศึกษา สาธารณสุข และองค์กรพัฒนาเอกชน โดยได้เริ่มดำเนินงาน เพื่อผลักดันให้เพศศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา มาตั้งแต่ปี 2547 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานบริหารกองทุนโลกเพื่อเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย ประเทศไทย องค์การ PATH ได้มอบหมายให้คณะบุคคล Health Counterparts Consulting เป็นผู้ดำเนินการด้านการประเมิน และติดตามผล คู่ขนานไปกับการดำเนินงานของภาคีต่างๆ โดยได้มุ่งติดตามทั้งในส่วนของระบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในสถานศึกษาและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียน โดยใช้วิธีการทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

องค์การ PATH หวังว่า ผลการประเมินที่คณะบุคคล Health Counterparts Consulting ได้จัดทำเป็นรายงานนี้ จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่เป็นภาคีในโครงการ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลักดันงานด้านการป้องกันเอดส์ และการส่งเสริมเพศศึกษา ได้ศึกษา วิเคราะห์และประเมินถึงโจทย์สำคัญที่ว่า เราควรจะจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในอนาคตอย่างไร เพื่อให้เกิดผลต่อวิธีคิดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนหรือกลุ่มเยาวชนในระบบสถานศึกษา รวมถึงทักษะการจัดการและความสามารถในการคิดและตัดสินใจในชีวิตประจำวันกับบุคคลรอบข้างของนักเรียน

องค์การ PATH ต้องขอขอบคุณอย่างสูงต่อ คณาจารย์ และนักเรียน จากโรงเรียนทั้งที่ได้ร่วมโครงการ และโดยเฉพาะโรงเรียนที่แม้ยังไม่ได้ร่วมโครงการ ก็ได้แสดงน้ำใจในการเป็นพื้นที่ให้ศึกษาเปรียบเทียบเพื่อแสดงผลของโครงการ การสละเวลาของคณาจารย์และนักเรียนได้สร้างการเรียนรู้ต่อผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะของเยาวชนและผลการศึกษาจะสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาสุขภาวะของเยาวชนของเราในวันข้างหน้า

และสุดท้าย องค์การ PATH ขอแสดงความขอบคุณและชื่นชมต่อคณะผู้วิจัยของ Health Counterparts Consulting ซึ่งได้ทำงานกันอย่างหนัก และพยายามควบคุมคุณภาพของการเก็บข้อมูล เพื่อให้การศึกษาสามารถตอบโจทย์ของโครงการและเป็นไปตามมาตรฐาน

ทางวิชาการ แม้ว่ามีความซับซ้อนของสถานการณ์ในการปฏิบัติงานหลายอย่างของโครงการ ที่อาจไม่เอื้ออำนวยให้การศึกษาเพื่อประเมินผลตอบโจทย์ของปฏิบัติการโครงการได้อย่างสมบูรณ์ แต่คณะผู้ประเมินก็ใช้ทักษะทางวิชาการ ช่วยภาคีในโครงการหาวิธีที่จะบอกผลว่าสิ่งที่พยายามดำเนินการกันอยู่นั้น มีความสำเร็จ หรือใกล้ ไกล จากความสำเร็จมากน้อยเพียงไร และยังได้ริเริ่ม และทดลองใช้กระบวนการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เพื่อรวบรวมข้อมูล เช่น “วาดรูปเล่าเรื่อง” (Story Telling/Drawing) ในการเก็บข้อมูลในกลุ่มเยาวชน ซึ่งได้จัดทำเป็นรายงานอีกเล่มหนึ่ง

องค์การ PATH และภาคีของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ หวังว่าผลการศึกษาที่นำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และตั้งใจที่จะผลักดันงานด้านการพัฒนาสุขภาวะในเรื่องเพศของเยาวชนให้รุดหน้าต่อไป

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here