คู่มือการจัดกิจกรรม  การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับลูกหลาน  เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน  (ฉบับภาษาอังกฤษ)

379

มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (path2health foundation) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณประโยชน์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ก่อนหน้านี้ดำเนินงานในนามองค์การแพธ (PATH) ประเทศไทย มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ โดยได้ร่วมมือกับภาครัฐ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน ฯลฯ สถานศึกษา มหาวิทยาลัย องค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณประโยชน์ ตลอดจนภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรชุมชน ในการพัฒนาความรู้ เสริมสร้างศักยภาพและความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีและวิชาการสาธารณสุข เพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มต่างๆ

มูลนิธิแพธทูเฮลท์ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษารอบด้านสำหรับเยาวชนในระบบการศึกษา ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ตลอดจนหลักสูตรการพัฒนาครู และวิทยากรหลักเพศศึกษาภายใต้การสนับสนุนของกองทุนโลกฯ และ สสส. โดยดำเนินการในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อผลักดันให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ด้วยตระหนักว่า การส่งเสริมสุขภาวะทางเพศของเยาวชน ไม่อาจดำเนินการผ่านสถานศึกษาเท่านั้น มูลนิธิแพธทูเฮลท์จึงได้พัฒนาหลักสูตรการ สื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับบุตรหลาน โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่น มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศ และมีทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์ภายในครอบครัว

คู่มือการจัดกิจกรรมการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับบุตรหลานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชนเล่มนี้ พัฒนาขึ้นเพื่อประกอบการจัดอบรมวิทยากรเพื่อทำหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่พ่อแม่ และ/หรือผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบดูแลลูกหลานที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น โดยโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจมุ่งเน้นการพัฒนาทีมวิทยากรให้กับเครือข่ายคนทำงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการจัดการศึกษา จัดกระบวนการอบรม การทำงานกับชุมชนด้านสาธารณสุข และการพัฒนาเยาวชนเพื่อให้เกิดการทำงานที่ต่อเนื่อง และสามารถขยายผลในรูปเครือข่าย ตลอดจนการเชื่อมประสานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่สามารถสนับสนุนด้านงบประมาณ ทั้งหมดก็เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมขนอย่างแท้จริง

หากท่านมีโอกาสนำคู่มือเล่มนี้ไปปรับใช้ และมีข้อเสนอแนะประการใดโครงการฯ ยินดีรับฟังความเห็น เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้คู่มือฉบับนี้สมบูรณ์ต่อไป

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here