คู่มือครู แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้สุขภาวะ (ปรับปรุงใหม่)

625

การเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคนโลยีได้ส่งผลถึงมิติในการพัฒนาเยาวชนวัยเรียนในด้านการดูแลสุขภาพไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาทางด้านวิชาการอื่น ๆ แก่นของการสร้างสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ต้องมีปัจจัยสนับสนุนมากกว่าการมีเพียงความรู้ที่ถูกต้อง สุขภาพที่ดีต้องอาศัยความสนใจและใส่ใจรวมถึงการลงมือทำเป็นกิจวัตรจนส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดีสำหรับตนเองและส่วนรวม ในขณะที่พัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวไปด้วยอัตราเร่ง สิ่งที่เกิดตามมาคือ ความรู้เดิมถูกหักล้างทดแทนด้วยข้อค้นพบใหม่เยาวชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและคำโฆษณาชวนให้เชื่ออยู่ตลอดเวลา รูปแบบการบริโภค การใช้ชีวิต วิถีความสัมพันธ์ในระดับครอบครัวและสังคมได้เปลี่ยนไปอย่างมาก จนเห็นผลกระทบได้อย่างชัดจนว่าโรคภัยไข้เจ็บได้เปลี่ยนแบบแผนไปจากการมีเชื้อโรคเป็นสาเหตุไปสู่โรคที่มาจากการที่มนุษย์กระทำกับตัวเองและกระทำกับสิ่งแวดล้อมจนขาดสมดุล และนำไปสู่การเจ็บป่วยในอันดับต้น ๆ ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน

ดังนั้น กรอบแนวคิดและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับเยาวชนในเรื่องสุขภาพจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน และการปรับเปลี่ยนนี้ไม่ได้มีเป้าหมายอยู่ที่การทำให้แต่ละคนสามารถดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนและของโลกด้วย

ปัจจัยสำคัญของการปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนการจัดการเรียนรู้ คือ การสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต แทนการได้รับความรู้ที่ถ่ายทอดจากครูผู้สอนเท่านั้นการเรียนรู้ดังกล่าวในมิติของสุขภาพ หมายถึง การนำไปลงมือปฏิบัติจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยและเกิดผลโดยตรงทันทีต่อการใช้ชีวิต เพราะสุขภาพเป็นผลลัพธ์ของการกระทำมากกว่าการมีความรู้ สอบผ่านแต่ขาดการลงมือปฏิบัติ

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here