ชุดกิจกรรม การไม่รังแกกัน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

460

สำหรับคนส่วนใหญ่ การรังแกกันอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือมีความสำคัญมาก บางคนอาจถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กด้วยซ้ำไป แต่หากพิจารณาให้ละเอียด จะเห็นว่าการรังแกกันของเด็กเป็นเรื่องร้ายแรง มีผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้นเด็กที่ถูกรังแกจะเกิดความวิตกกังวล หวาดกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจและความสามารถในการเรียนรู้ เพราะเมื่อจิตใจไม่สงบ รู้สึกไม่ปลอดภัย ก็จะทำใไม่มีสมาธิในการเรียน ส่วนเด็กที่เป็นผู้รังแก หากไม่มีใครห้ามปรามหรือขัดขวางก็จะเกิดความย่ามใจ ฮึกเหิมคึกคะนอง ไม่เคารพสิทธิหรือศักดิ์ศรีของผู้อื่น ไม่เคารพระเบียบกฎเกณฑ์ของโรงเรียน และมีพฤติกรรมอื่นๆที่สร้างปัญหาและความหนักใจให้กับครู ในระยะยาวมีการศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่าเด็กที่ชอบรังแกผู้อื่นจะมีความเสี่ยงต่อการประกอบอาชญากรรมหรือติดคุกมากกว่าเด็กทั่วไป และจะใช้ความรุนแรงต่อคนรอบข้างในชีวิตของเขาต่อไปอีก เช่น คู่สมรส บุตรหลาน หรือผู้ร่วมงาน เพราะความเคยชินหรือเห็นเป็นเรื่องธรรมดาส่วนผู้ถูกรังแกในระยะยาวอาจเกิดอาการซึมเศร้า สูญเสียความมั่นใจในตนเอง อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือในทางตรงข้ามอาจสะสมความโกรธแค้นไว้จนถึงขีดสุด แล้วหันมาทำร้ายหรือฆ่าผู้รังแกได้ ดังที่ปรากฎเป็นข่าวออกมาเป็นครั้งคราว ปัญหาการรังแกกันจึงเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่จะต้องถูกกำจัดหรือถอดชนวนเสียก่อนที่จะสายเกินไป

การสร้างความตระหนักหรือให้ความรู้ ฝึกทักษะเพื่อป้องกันการรังแกกัน หรืออย่างน้อยให้ความรู้ความเข้าใจถึงผลเสียของการรังแกกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หนังสือคู่มือเล่มนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวในสังคมไทย ที่จะป้องกันหรือลดปัญหาการรังแกกันลงไปได้

แสดงความคิดเห็น

Please enter your comment!
Please enter your name here